วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พระประวัติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

พระประวัติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย

           สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๕๗ ในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าจอมมารดาชุ่ม ธิดาพระอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ) ต้นสกุล"โรจนดิศ" เป็นเจ้าจอมมารดา ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๐๕ พระบาท สมเด็จพระบรมชนกนาถ พระราชทานพระนามและพระพร ประกอบด้วยคาถาเป็นภาษาบาลีซึ่งมีคำแปลดังต่อไปนี้
          " สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ผู้บิดาตั้งนามกุมารบุตรที่เกิดแต่ชุ่มเล็กเป็นมารดานั้น และซึ่งคลอดในวัน ๗ ฯ๙ ๗ ปีจอจัตวาศกนั้น ว่าดังนี้ พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร นาคนาม ขอจงเจริญชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ สรรพสิริสวัสดิพิพัฒนมงคล ทุกประการ สิ้นกาลนานต่อไป เทอญ
ตั้งนามมาวัน ๕ ฯ๕ ๙ ค่ำ ปีจอจัตวาศก เป็นปีที่ ๑๒ เป็นวันที่ ๖๐๙๖ ในรัชกาลปัจจุบันนี้" อ่านเพิ่มเติม

พระยาศรีสุนทรโวหาร  (น้อย  อาจารยางกูร)" 

พระยาศรีสุนทรโวหาร  (น้อย  อาจารยางกูร)" 

           พระยาศรีสุนทรโวหาร ญาณปรีชามาตย์ บรมนารถนิตยภักดี พิริยพาหะ ท.จ., น., ม., ร., ด., ม., เจ้ากรมพระอาลักษณ์แลองคมนตรี ในรัชกาลปัจจุบันนี้ เดิมท่านชื่อน้อย อุปปัติเกิดที่บ้านในคลองโสธร แขวงเมืองฉะเชิงเทรา เมื่อ ณ วัน ๖ เดือน ๘ แรม ๒ ค่ำ ปีมะเมีย จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๘๔ ตรงกับวันที่ ๕ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๔๑ บิดาท่านชื่อ ทองดี มารดาท่านชื่อ บัว ท่านเป็นบุตรคนที่ ๖ ของบรรพบุรุษ


เมื่อท่านมีอายุได้ ๖ ปี ๗ ปีนั้น ท่านได้เล่าเรียนหนังสือไทยกับหลวงบรรเทาทุกขราษฎร์(ไทย) กรมการเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นพี่ชายใหญ่ของท่าน แต่เมื่อหลวงบรรเทาทุกขราษฎร์ยังบวชเป็นภิกษุอยู่ที่วัดโสธรนั้น อ่านเพิ่มเติม

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่าฉิม เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐ ณ ตำบลอัมพวา เมืองสมุทรสาคร ในขณะพระราชบิดายังทรงดำรงพระยศเป็นหลวงกระบัตร เมืองราชบุรี

            พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรง เข้ารับการศึกษาจากวัดระฆังโฆสิตาราม โดยฝากตัวเป็นศิษย์กับพระวันรัต (ทองอยู่) เมื่อพระชนมายุได้ ๘ พรรษา พระองค์ได้ตามเสด็จพระบรมชนกนาถ (พระราชบิดา) ไปราชการสงครามด้วย และเมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถก็ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระนามว่าพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระองค์จึงได้รับการสถาปนาพระยศขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุครบ ๒๒ พรรษา ก็ได้ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง และเสด็จจำพรรษาที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) อยู่นาน ๓ เดือน (๑ พรรษา) จึงทรงลาผนวช อ่านเพิ่มเติม

โคลงสี่สุภาพ

โคลงสี่สุภาพซึ่งถือเป็นโคลงแม่บท



                                          เสียงลือเสียงเล่าอ้าง     อันใด  พี่เอย

                                    เสียงย่อมยอยศใคร             ทั่วหล้า

                                    สองเขือพี่หลับใหล              ลืมตื่น  ฤๅพี่

                                    สองพี่คิดเองอ้า                   อย่าได้ถามเผือ

                                                                                            (ลิลิตพระลอ)

         

ลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพ

            ๑.  คณะ   โคลงสี่สุภาพบทหนึ่งมี  ๔  บาท

                        บาทที่  ๑ , ๒ , ๓   มีบาทละ  ๒  วรรค  และมีจำนวนคำเท่ากัน  คือ วรรคหน้า    มี  ๕ คำ  ส่วนวรรคหลังมี  ๒  คำ

                        บาทที่  ๔  มี  ๒  วรรค  เช่นกัน  แต่เพิ่มจำนวนคำในวรรคหลังอีก  ๒  คำ  ฉะนั้นวรรคหน้าของโคลงบาทที่ ๔  จึงมี  ๕  คำ  ส่วนวรรคหลังมี  ๔  คำ อ่านเพิ่มเติม

ร่ายสุภาพ

ลักษณะบังคับของโคลงสองสุภาพ

            ก.  คณะและพยางค์    บทหนึ่งมี  ๓  วรรค  วรรคที่  ๑  และวรรคที่  ๒  มีวรรคละ  ๕  คำ  วรรคที่  ๓  มี  ๔  คำ  รวม ๓  วรรคเป็น  ๑๔  คำ  นอกจากนี้อาจมีคำสร้อยเติมในวรรคสุดท้ายได้อีก  ๒  คำ

            ข.  สัมผัสและคำเอกคำโท

                        ๑)  สัมผัสบังคับ     ดูได้จากแผนผังของโคลงสองดังนี้



คำที่  ๕  ของวรรคที่  ๑ สัมผัสกับคำที่  ๕  ของวรรคที่  ๒  เพียงแห่งเดียวตามเส้นที่โยงไว้  ถ้าแต่งต่ออีกหลายบท  คำสุดท้ายของวรรคที่  ๓  จะสัมผัสกับคำที่  ๑ หรือ  ๒  หรือ  ๓  ของวรรคแรกในบทต่อไป

นิราศนรินทร์คำโคลง

นิราศนรินทร์คำโคลง


    นิราศนรินทร์เป็นบทประพันธ์ประเภทนิราศคำโคลงที่โด่งดังที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ ทัดเทียมได้กับ"กำสรวลศรีปราชญ์ "และ"ทวาทศมาส"ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้แต่งคือ นายนรินทร์ธิเบศร์(อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปทัพพม่าในสมัยรัชกาลที่สอง ไม่มีบันทึกถึงประวัติของผู้แต่งไว้ ทราบแต่ว่าเป็นข้าราชการ ตำแหน่ง มหาดเล็กหุ้มแพรในกรมพระราชวังบวรฯ และมีผลงานที่ปรากฏนอกจากนิราศเรื่องนี้ เป็นเพลงยาวอีกบทหนึ่งเท่านั้น แต่แม้จะมีผลงานเพียงน้อยนิด แต่ผลงานของกวีท่านนี้จัดว่าอยู่ในขั้นวรรณคดี และเป็นที่นิยมอ่านกันอย่างแพร่หลาย อ่านเพิ่มเติม

นิทานเวตาล

     พระวิกรมาทิตย์หรือพระวิกรมเสน กษัตริย์ในตำนานของอินเดียโบราณ ได้รับปากกับโยคีชื่อ "ศานติศีล" จะไปนำตัวเวตาล อมนุษย์ที่มีลักษณะคล้ายศพมนุษย์ผสมค้างคาว ซึ่งห้อยหัวอยู่กับต้นอโศก มาให้แก่ฤๅษีเพื่อใช้ในพิธีบูชาเจ้าแม่กาลี โดยมีพระธรรมธวัชผู้เป็นโอรสติดตามไปด้วย เมื่อพระองค์จับตัวเวตาลได้แล้ว เวตาลก็จะพยายามยั่วให้พระวิกรมาทิตย์ตรัสออกมาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอ โดยการการเล่านิทานอุทาหรณ์ต่างๆ แล้วให้พระวิกรมาทิตย์ตัดสินเรื่องราวในนิทานเหล่านั้น ด้วยขัตติยะมานะของกษัตริย์ทำให้พระวิกรมาทิตย์อดไม่ได้ที่จะตรัสพระราชวิจารณ์เกี่ยวเรื่องราวในนิทานอยู่เสมอ ผลก็คือเวตาลได้ลอยกลับไปอยู่ที่ต้นอโศกอันเป็นที่อยู่ของตน ทำให้พระวิกรมาทิตย์จำต้องกลับไปจับเอาเวตาลกลับมาใหม่ทุกครั้ง เป็นเช่นนี้อยู่ถึง 24 ครั้ง ในครั้งที่ 25 พระธรรมธวัชได้สะกิดเตือนมิให้พระวิกรมาทิตย์ตรัสคำใดๆ ออกมา พระวิกรมาทิตย์ก็ระงับใจไม่เอื้อนพระโอษฐ์ตรัสพระกระแสใดๆ ออกมา เวตาลจึงยอมให้พระองค์พาตนไปให้โยคีศานติศีลนั้นได้

ท้ายเรื่องของนิทานเวตาลมีอยู่ว่า ระหว่างทางที่พระวิกรมาทิตย์พาเวตาลไปหาโยคีนั้นเอง เวตาลก็ได้เปิดเผยว่าแท้จริงแล้วโยคีศานติศีลมีความแค้นกับพระวิกรมาทิตย์อยู่ ซึ่งเป็นความแค้นที่ก่อโดยพระบิดาของพระวิกรมาทิตย์ จึง หวังที่จะปลง ชนม์ของพระองค์เสีย พร้อมกันนี้เวตาลก็แนะนำให้พระองค์ทำเป็นเชื่อฟังคำของโยคีนั้นแล้วหาทางฆ่าเสีย พระวิกรมาทิตย์ก็ได้ทำตามคำแนะนำดังกล่าว และรอดพ้นจากการทำร้ายของโยคีนั้นได้ อ่านเพิ่มเติม