วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พระประวัติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

พระประวัติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย

           สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๕๗ ในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าจอมมารดาชุ่ม ธิดาพระอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ) ต้นสกุล"โรจนดิศ" เป็นเจ้าจอมมารดา ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๐๕ พระบาท สมเด็จพระบรมชนกนาถ พระราชทานพระนามและพระพร ประกอบด้วยคาถาเป็นภาษาบาลีซึ่งมีคำแปลดังต่อไปนี้
          " สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ผู้บิดาตั้งนามกุมารบุตรที่เกิดแต่ชุ่มเล็กเป็นมารดานั้น และซึ่งคลอดในวัน ๗ ฯ๙ ๗ ปีจอจัตวาศกนั้น ว่าดังนี้ พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร นาคนาม ขอจงเจริญชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ สรรพสิริสวัสดิพิพัฒนมงคล ทุกประการ สิ้นกาลนานต่อไป เทอญ
ตั้งนามมาวัน ๕ ฯ๕ ๙ ค่ำ ปีจอจัตวาศก เป็นปีที่ ๑๒ เป็นวันที่ ๖๐๙๖ ในรัชกาลปัจจุบันนี้" อ่านเพิ่มเติม

พระยาศรีสุนทรโวหาร  (น้อย  อาจารยางกูร)" 

พระยาศรีสุนทรโวหาร  (น้อย  อาจารยางกูร)" 

           พระยาศรีสุนทรโวหาร ญาณปรีชามาตย์ บรมนารถนิตยภักดี พิริยพาหะ ท.จ., น., ม., ร., ด., ม., เจ้ากรมพระอาลักษณ์แลองคมนตรี ในรัชกาลปัจจุบันนี้ เดิมท่านชื่อน้อย อุปปัติเกิดที่บ้านในคลองโสธร แขวงเมืองฉะเชิงเทรา เมื่อ ณ วัน ๖ เดือน ๘ แรม ๒ ค่ำ ปีมะเมีย จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๘๔ ตรงกับวันที่ ๕ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๔๑ บิดาท่านชื่อ ทองดี มารดาท่านชื่อ บัว ท่านเป็นบุตรคนที่ ๖ ของบรรพบุรุษ


เมื่อท่านมีอายุได้ ๖ ปี ๗ ปีนั้น ท่านได้เล่าเรียนหนังสือไทยกับหลวงบรรเทาทุกขราษฎร์(ไทย) กรมการเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นพี่ชายใหญ่ของท่าน แต่เมื่อหลวงบรรเทาทุกขราษฎร์ยังบวชเป็นภิกษุอยู่ที่วัดโสธรนั้น อ่านเพิ่มเติม

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่าฉิม เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐ ณ ตำบลอัมพวา เมืองสมุทรสาคร ในขณะพระราชบิดายังทรงดำรงพระยศเป็นหลวงกระบัตร เมืองราชบุรี

            พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรง เข้ารับการศึกษาจากวัดระฆังโฆสิตาราม โดยฝากตัวเป็นศิษย์กับพระวันรัต (ทองอยู่) เมื่อพระชนมายุได้ ๘ พรรษา พระองค์ได้ตามเสด็จพระบรมชนกนาถ (พระราชบิดา) ไปราชการสงครามด้วย และเมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถก็ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระนามว่าพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระองค์จึงได้รับการสถาปนาพระยศขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุครบ ๒๒ พรรษา ก็ได้ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง และเสด็จจำพรรษาที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) อยู่นาน ๓ เดือน (๑ พรรษา) จึงทรงลาผนวช อ่านเพิ่มเติม

โคลงสี่สุภาพ

โคลงสี่สุภาพซึ่งถือเป็นโคลงแม่บท



                                          เสียงลือเสียงเล่าอ้าง     อันใด  พี่เอย

                                    เสียงย่อมยอยศใคร             ทั่วหล้า

                                    สองเขือพี่หลับใหล              ลืมตื่น  ฤๅพี่

                                    สองพี่คิดเองอ้า                   อย่าได้ถามเผือ

                                                                                            (ลิลิตพระลอ)

         

ลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพ

            ๑.  คณะ   โคลงสี่สุภาพบทหนึ่งมี  ๔  บาท

                        บาทที่  ๑ , ๒ , ๓   มีบาทละ  ๒  วรรค  และมีจำนวนคำเท่ากัน  คือ วรรคหน้า    มี  ๕ คำ  ส่วนวรรคหลังมี  ๒  คำ

                        บาทที่  ๔  มี  ๒  วรรค  เช่นกัน  แต่เพิ่มจำนวนคำในวรรคหลังอีก  ๒  คำ  ฉะนั้นวรรคหน้าของโคลงบาทที่ ๔  จึงมี  ๕  คำ  ส่วนวรรคหลังมี  ๔  คำ อ่านเพิ่มเติม

ร่ายสุภาพ

ลักษณะบังคับของโคลงสองสุภาพ

            ก.  คณะและพยางค์    บทหนึ่งมี  ๓  วรรค  วรรคที่  ๑  และวรรคที่  ๒  มีวรรคละ  ๕  คำ  วรรคที่  ๓  มี  ๔  คำ  รวม ๓  วรรคเป็น  ๑๔  คำ  นอกจากนี้อาจมีคำสร้อยเติมในวรรคสุดท้ายได้อีก  ๒  คำ

            ข.  สัมผัสและคำเอกคำโท

                        ๑)  สัมผัสบังคับ     ดูได้จากแผนผังของโคลงสองดังนี้



คำที่  ๕  ของวรรคที่  ๑ สัมผัสกับคำที่  ๕  ของวรรคที่  ๒  เพียงแห่งเดียวตามเส้นที่โยงไว้  ถ้าแต่งต่ออีกหลายบท  คำสุดท้ายของวรรคที่  ๓  จะสัมผัสกับคำที่  ๑ หรือ  ๒  หรือ  ๓  ของวรรคแรกในบทต่อไป

นิราศนรินทร์คำโคลง

นิราศนรินทร์คำโคลง


    นิราศนรินทร์เป็นบทประพันธ์ประเภทนิราศคำโคลงที่โด่งดังที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ ทัดเทียมได้กับ"กำสรวลศรีปราชญ์ "และ"ทวาทศมาส"ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้แต่งคือ นายนรินทร์ธิเบศร์(อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปทัพพม่าในสมัยรัชกาลที่สอง ไม่มีบันทึกถึงประวัติของผู้แต่งไว้ ทราบแต่ว่าเป็นข้าราชการ ตำแหน่ง มหาดเล็กหุ้มแพรในกรมพระราชวังบวรฯ และมีผลงานที่ปรากฏนอกจากนิราศเรื่องนี้ เป็นเพลงยาวอีกบทหนึ่งเท่านั้น แต่แม้จะมีผลงานเพียงน้อยนิด แต่ผลงานของกวีท่านนี้จัดว่าอยู่ในขั้นวรรณคดี และเป็นที่นิยมอ่านกันอย่างแพร่หลาย อ่านเพิ่มเติม

นิทานเวตาล

     พระวิกรมาทิตย์หรือพระวิกรมเสน กษัตริย์ในตำนานของอินเดียโบราณ ได้รับปากกับโยคีชื่อ "ศานติศีล" จะไปนำตัวเวตาล อมนุษย์ที่มีลักษณะคล้ายศพมนุษย์ผสมค้างคาว ซึ่งห้อยหัวอยู่กับต้นอโศก มาให้แก่ฤๅษีเพื่อใช้ในพิธีบูชาเจ้าแม่กาลี โดยมีพระธรรมธวัชผู้เป็นโอรสติดตามไปด้วย เมื่อพระองค์จับตัวเวตาลได้แล้ว เวตาลก็จะพยายามยั่วให้พระวิกรมาทิตย์ตรัสออกมาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอ โดยการการเล่านิทานอุทาหรณ์ต่างๆ แล้วให้พระวิกรมาทิตย์ตัดสินเรื่องราวในนิทานเหล่านั้น ด้วยขัตติยะมานะของกษัตริย์ทำให้พระวิกรมาทิตย์อดไม่ได้ที่จะตรัสพระราชวิจารณ์เกี่ยวเรื่องราวในนิทานอยู่เสมอ ผลก็คือเวตาลได้ลอยกลับไปอยู่ที่ต้นอโศกอันเป็นที่อยู่ของตน ทำให้พระวิกรมาทิตย์จำต้องกลับไปจับเอาเวตาลกลับมาใหม่ทุกครั้ง เป็นเช่นนี้อยู่ถึง 24 ครั้ง ในครั้งที่ 25 พระธรรมธวัชได้สะกิดเตือนมิให้พระวิกรมาทิตย์ตรัสคำใดๆ ออกมา พระวิกรมาทิตย์ก็ระงับใจไม่เอื้อนพระโอษฐ์ตรัสพระกระแสใดๆ ออกมา เวตาลจึงยอมให้พระองค์พาตนไปให้โยคีศานติศีลนั้นได้

ท้ายเรื่องของนิทานเวตาลมีอยู่ว่า ระหว่างทางที่พระวิกรมาทิตย์พาเวตาลไปหาโยคีนั้นเอง เวตาลก็ได้เปิดเผยว่าแท้จริงแล้วโยคีศานติศีลมีความแค้นกับพระวิกรมาทิตย์อยู่ ซึ่งเป็นความแค้นที่ก่อโดยพระบิดาของพระวิกรมาทิตย์ จึง หวังที่จะปลง ชนม์ของพระองค์เสีย พร้อมกันนี้เวตาลก็แนะนำให้พระองค์ทำเป็นเชื่อฟังคำของโยคีนั้นแล้วหาทางฆ่าเสีย พระวิกรมาทิตย์ก็ได้ทำตามคำแนะนำดังกล่าว และรอดพ้นจากการทำร้ายของโยคีนั้นได้ อ่านเพิ่มเติม

ถอดคำประพันธ์นมัสการมาตาปิตุคุณ


  1. ถอดคำประพันธ์นมัสการมาตาปิตุคุณ


ถอดความ     บทกวีนี้ กล่าวนอบน้อมพระคุณของบิดามารดา ผู้ได้เกื้อกูลมาตั้งแต่เล็กจนเติบโต    คอยเฝ้าระวังรักษาประคับ ประคองดูแลอยู่ไม่ยอมห่าง  แม้จะ ลำบากเท่าไรก็อดทนได้   เลี้ยงลูกอย่างทะนุถนอม ปกป้องอันตราย จนรอดพ้นอันตราย เติบใหญ่  เป็นตัวเป็นตน
เปรียบประคุณของบิดามารดายิ่งกว่าภูเขา  หรือแผ่นดิน สุดที่จะทดแทนพระคุณ มากล้นนี้ได้  ด้วยการบูชาอันวิเศษสมบูรณ์เลิศล้ำ อ่านเพิ่มเติม

เรื่องย่อ อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

เรื่องย่อ อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง


          ด้านกษัติร์ย์อีกวงศ์หนึ่งคือ ท้าวกะหมังกุหนิง มีพระโอรสคือ วิหยาสะกำ ครองเมืองปาหยัง  และโอรสอีกพระองค์ครองเมืองปะหมันสลัด วันหนึ่งวิหยาสะกำได้เสด็จประพาสป่า ได้เจอรูปนางบุษบาที่หายไป จึงคลั่งไคล้นางบุษบาเป็นอย่างมาก ท้าวกะหมังกุหนิงจึงสืบเรื่องและให้ทูตไปสู่ขอ แต่ท้าวดาหาได้ยกนางบุษบาให้จรกาไปแล้ว ท้าวกะหมังกุหนิง จึงตั้งใจจะยกทัพมาแย่งชิงนางบุษบาไป โดยให้ระตูปาหยังและระตูปะหมัน พระอนุชายกทัพมาช่วย โดยมีวิหยาสะกำเป็นทัพหน้า และพระอนุชาทั้งสองคนเป็นทัพหลัง อ่านเพิ่มเติม